bookmark_border2 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับสุขภาพ

บนโลกนี้มีความเชื่ออยู่มากมาย ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะเชื่อไปหมดซะทุกเรื่อง หลายๆ เรื่องก็สามารถพิสูจน์ได้ จนกลายเป็นทฤษฎี หลายเรื่องก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่แรงศรัทธานั้นยังคงมีอยู่มาก ความเชื่อจากการบอกต่อ ความเชื่อจากการพบเห็นด้วยตนเอง วันนี้เราเอาความเชื่อในเรื่องสุขภาพ มาฝากกัน แต่ไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้อง แต่เป็นความเชื่อผิดๆ ในเรื่องสุขภาพนั่นเอง ความเชื่อในด้านสุขภาพว่ากินอะไรแล้วจะไม่สบาย ความเชื่อว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้สามารถรักษาโรคได้ อยู่ในที่แบบไหนแล้วจะป่วย หรือยาแบบไหนไม่ดีต่อสุขภาพ หลาย ๆ ความเชื่อเป็นจริง แต่อีกหลาย ๆ ความเชื่อก็เป็นเหมือนนิทานหลอกเด็ก และเพื่อไม่ให้โดนหลอก โดยวันนี้เราจะมานำเสนอในเรื่องของความเชื่อบางส่วนที่ไม่จริงมาฝากกันด้วย กับ 2 ความเชื่อผิดๆ ด้านสุขภาพ

1.การฉีดวัคซีนทำให้เป็นออทิสติก
ออทิสติกนั้นเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม การฉีควัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ก็ได้มีการศึกษาวิจัยอยู่ โดยความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 มีผู้ปกครองของเด็กกลุ่มนี้ยื่นเรื่องฟ้องโรงพยาบาลที่พาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดและคางทูม หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็เริ่มมีอาการของโรคออทิสติก หลังจากนั้นจึงมีการวิจัยและทำการศึกษาว่าผลข้างเคียงของวัคซีนนั้นมีอะไรบ้าง แต่ก็ไม่ได้พบปัจจัยอะไรที่ผิดปกติและทำให้เกิดโรคอย่างที่ทางโรงพยาบาลถูกฟ้องหรือแม่ของงเด็กกล่าวอ้าง จึงเป็นไปได้ว่าการเกิดโรคออทิสติกในเด็กกลุ่มนั้นน่าจะเกิดจากการเลี้ยงดู หรืออาการแฝงที่มีมาตั้งแต่กำเนิดมากกว่า

2.วิตามินเสริม ยิ่งทานทำให้สุขภาพดียิ่งขึ้น
ในเรื่องของการทานวิตามิน เชื่อว่ามีบางคนหรือบุคคลส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่ายิ่งทานวิตามินยิ่งดี และทานมื้อละหลายๆ ชนิด เท่าที่คาดว่าจะดีต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งความเชื่อนี้ผิดอย่างร้ายแรง เพราะโดยปกติแล้วถึงแม้ร่างกายจะไม่สามารถสร้างวิตามินและแร่ธาตุขึ้นมาได้เอง แต่เราสามารถได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไปอยู่แล้ว เช่น ผักและ ผลไม้ต่างๆ ทั้งนี้วิตามินนั้นเพียงพออยู่แล้วหากเราได้ทานหรือกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะพอดี โดยการที่เรากินวิตามินเข้าไปมากๆ จะทำให้เราเสี่ยงจากการได้รับวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างเกินความจำเป็น เช่น วิตามินซีเพราวิตามินซีสามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้หากได้รับมากเกินไป มีกรดในกระเพาะสูง ปวดตามข้อ กระดูกพรุน ปวดศีรษะโลหิตจาง การลดลงของฮอร็โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เป็นต้น

bookmark_borderปวดหลัง เพราะพฤติกรรมแย่ๆ ทำร้ายกระดูกสันหลัง

หากคุณกำลังประสบปัญหา “ปวดหลัง” อย่ามองข้ามมันเด็ดขาด เพราะอาการปวดหลังไม่ใช่อาการเบาๆ ที่เราจำเป็นจะต้องทน หรือจะทนกันได้นาน ๆ หากพบว่าตนเองมีอาการปวดหลังมายาวนาน จนไปรบกวนชีวิตประจำวัน เมื่ออ่านบทความนี้จบ จงอย่าทนอีกต่อไป นอกจากนี้กระดูกสันหลังยังเป็นส่วนหนึ่งของงร่างกายที่สำคัญเพราะเป็นที่สำหรับเก็บไขกระดูกที่ใช้ในการผลิตเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ แล้วนำส่งเข้าสู่กระแสโลหิต ดังนั้นอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นการบ่งบอกว่ากระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย ซึ่งถ้ากระดูกสันหลังได้รับความเสียหายจริง อาจเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง และยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในภาพรวมได้อย่างที่คุณอาจคิดไม่ถึง
กระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญมาก ๆ ของร่างกายเรา ซึ่งหากได้รับความเสียหายอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายเราอย่างมาก และในทุกวันนี้เราอาจจะเผลอทำพฤติกรรมบางอย่างจนทำร้ายกระดูกสันหลังไปแล้วโดยที่อาจจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ดังนั้นเราไปดูกันว่าพฤติกรรมไหนบ้างที่กำลังทำร้ายกระดูกสันหลังเราอยู่

7 พฤติกรรมทำร้าย “กระดูกสันหลัง”
1. ก้มลงไปยกของหนักกับพื้นต่ำๆ โดยไม่ย่อเข่า

2. นั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้น ไม่พิงพนัก

3. นั่งหลังงอ หลังค่อม และหากทำบ่อยๆ อาจเสี่ยงหมอนรองกระดูกเสื่อม

4. ยืนแอ่นพุง หลังค่อม

5. นั่งไขว้ห้าง เอียงตัว ไม่ควรนั่งท่าไขว่ห้างนานเกินไป

6. ยืนพักขา ยืนทิ้งน้ำหนักไว้ที่ขาข้างเดียวจนสะโพกเอียงเป็นเวลานาน

7. สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ส่งผลต่อกระดูกสันหลังได้

อันตรายจากการไม่ดูแลกระดูกสันหลัง
อันตรายของการที่เราละเลยไม่ดูแลกระดูกสันหลัง โดยทำพฤติกรรมแย่ๆ ที่ทำร้ายกระดูกสันหลังบ่อยๆ ซึ่งอาจเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ กระดูกสันหลังคด หมอนรองกระดูกเสื่อม กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นอักเสบ หรือมีอาการปวด เคล็ดขัดยอกเรื้อรัง จนรบกวนชีวิตของเรามากจนทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ นอกเหนือจากปัญหาต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วนั้น หากยังคงทำพฤติกรรมที่ทำร้ายกระดูกสันหลังอยู่เรื่อยๆ จะทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมประสิทธิภาพลง เมื่ออายุมากขึ้น จะไม่สามารถรับน้ำหนักที่มากดทับมากๆ ไม่ได้
ดังนั้น เราควรที่จะรู้จักและเริ่มที่จะถนอมกระดูกสันหลังของเราไว้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม เช่น หากต้องการหยิบยกของที่อยู่ตรงพื้น ก็ให้ย่อเข่าลง และก้มตัวให้น้อยที่สุดเมื่อต้องยกของหนักจากพื้นต่ำๆ เดิน นั่งหลังตรงตลอดเวลา งดนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน ยืนลงน้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้างเท่ากัน และไม่สะพายกระเป๋าที่หนักจนเกินไป เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดกับกระดูกสันหลังได้ในอนาคต

bookmark_borderปัญหากลิ่นปากกับสาเหตุที่เราอาจไม่เคยรู้

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหา “กลิ่นปาก” ที่หลายคนอาจไม่ค่อยมีปัญหากับมันมากนัก แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเป็นกังวลกับปัญหานี้ที่แก้อย่างไรก็ไม่หาย ที่น่าสงสารไปกว่านั้นคือ เขาหรือเธอเหล่านั้นบางครั้งไม่รู้ตัวว่ามีปัญหากลิ่นปาก จึงทำให้คนรอบข้างพากันรังเกียจและเอาไปนินทากันมากมาย ส่วนตัวไม่ว่าจะย้ายที่ทำงานกี่ครั้ง ก็มักเจอเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหากลิ่นปากทุกครั้ง ทำให้เราเข้าใจว่า ปัญหากลิ่นปากไม่ใช่เรื่องเล็ก และคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหานี้

เมื่อต้องการจะแก้ปัญหากลิ่นปาก ก็ต้องทราบกันก่อนว่าปัญหากลิ่นปากมีต้นเหตุมาจากไหน จะได้แก้ไขกันได้ตั้งแต่ต้นเหตุ

สาเหตุของ “กลิ่นปาก”

  • อาหารกลิ่นแรง
    อาหารกลิ่นแรงๆ มักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม หอม สะตอ หรือแม้กระทั่งอาหารกระป๋องอย่าง ปลากระป๋อง ทูน่ากระป๋อง และเครื่องเทศต่างๆ ทำให้เกิดกลิ่นปากหลังทานได้ทันที หากทานอาหารเหล่านี้ วิธีแก้ปัญหาก็ง่ายๆ เพียงแค่แปรงฟัน บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปาก หรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีกลิ่นมิ้นท์ช่วยลดกลิ่นปาก เท่านี้ก็เรียบร้อย
  • อาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง และน้ำตาล
    นี่เริ่มสู่อีกขั้นหนึ่งของอาหารที่ทำให้มีกลิ่นปากแล้ว เพราะหลายคนอาจไม่ทราบว่าอาหารที่เต็มไปด้วยแป้ง และน้ำตาล เป็นอาหารที่สามารถเกิดเชื้อแบคทีเรียในปากได้มาก เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายด้วยเอนไซม์อะไมเลส หรือไทยาลีนในน้ำลายนั่นเอง เพราะฉะนั้นใครที่กินข้าว ดื่มน้ำหวานๆ แล้วไม่ดื่มน้ำเปล่าตาม หรือกลั้วปากด้วยน้ำ หลังจากนั้นจึงอาจเกิดกลิ่นปากได้
  • โรคในช่องปาก และคอ
    ใครที่มีปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ หรืออาการติดเชื้อที่ช่องคอ เช่น ไซนัส ปอด ปากคอแห้งจากปัญหาน้ำลายน้อย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากได้เช่นกัน
  • โรคประจำตัวอื่นๆ
    ยังมีโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นปากอีกมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน กรดไหลย้อน มะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคหืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารอื่นๆ หากมีโรคประจำตัวดังกล่าวสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นปากที่เกิดขึ้นได้
  • ยาบางชนิด
    เชื่อหรือไม่ว่าการทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • สิ่งแปลกปลอมในช่องปาก จากการทำทันตกรรม
    ไม่ว่าคุณจะใส่ฟันปลอม เหล็กดัดฟัน รีเทนเนอร์ หรือการทำวีเนียร์ หากไม่ดูแลรักษาฟันให้ดี หรือหากเลือกทำกับคนที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ อาจทำให้คุณภาพที่ทำออกมาไม่ดี จนมีเศษอาหารเข้าไปติด ทำความสะอาดลำบาก จนเกิดเป็นกลิ่นปากได้
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
    การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ช่องปากมีกลิ่นด้วยเช่นกัน

วิธีแก้ปัญหากลิ่นปากอย่างง่ายๆ

  1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรืออาจแปรงฟันหลังทานอาหารได้ (ไม่ควรแปรงฟันหลังอาหารทันที ควรแปรงหลังทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันฟันกร่อน)
  2. ทุกครั้งที่แปรงฟัน ควรแปรงลิ้นด้วย เพื่อลดแบคทีเรีย และคราบโปรตีนที่อยู่บนผิวลิ้น
  3. หากมีปัญหาในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ และอื่นๆ ควรพบทันตแพทย์เพื่อรักษาทันที อย่าปล่อยไว้นาน
  4. อย่าใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟัน เพราะไม่สามารถกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันได้
  5. ดื่มน้ำมากๆ ไม่ว่าจะหลังมื้ออาหาร หลังทานขนม เครื่องดื่ม หรือระหว่างวันก็ควรดื่ม หรือจิบน้ำด้วย
  6. งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
  7. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และฟันทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี

bookmark_borderสาเหตุของการเป็นโรคตับแข็งและโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปี

สาเหตุของการเป็นโรคตับแข็งและโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปี

โรคตับแข็งอาจเกิดได้จากหลายๆสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของตับ ที่จะทำลายเนื้อเยื่อต้นเหตที่นำไปสู่โรคตับวายเฉียบพลันและตับแข็งมากที่สุดมักเกิดจากสาเหตุดังนี้

–   ดื่มแอลกอฮอลล์ ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์มากเกินไป

–   การติดเชื่อของตับ โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี

–   ภาวะไขมันพอกที่ตับโดยไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอลล์ เช่น ภาวะไขมันพอกที่ตับเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

ส่วนสาเหตุอื่นๆที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็งได้ เช่น

–   การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันบ่อยๆครั้ง จนทำให้เกิดภาวะย้อนกลับน้ำไหลเข้าตับ

–   โรคทางพันธุกรรม เกิดจากรุ่นสู่รุ่นโดยมีการถ่ายทอดเชื้อต่อๆกัน

–   โรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากอาการปิดปกติของตับ มีการสะสมทองแดงมากเกินไป

–    การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ

–    การรับประทานสมุนไพรบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ

–   ได้รับสารพิษโดยตรง จากการทำงาน

–   ร่างกายมีธาตุเหล็กสูงเกินไป มีการสัสมในตับเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุที่พบได้ประมาณ (5-10%)

โดยส่วนใหญ่จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดจากข้างต้น จะถูกพบได้บ่อยๆในวัยอายุประมาณ 40-60 ปีขึ้นไป หากพบในเด็กหรือเกณฑ์ที่อายุต่ำกว่านั้นจะมีสาเหตมาจากไวรัสตับอักเสบชนิดรุนแรงหรือการใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีบางชนิด โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดขึ้นได้ใกล้เคียงกัน พบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูสูงอายุ ดังนั้นควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากใครมีผู้สูงอายุหรือบุคคลในบ้านที่กำลังประพฤติ พฤติกรรมเหล่านี้อยู่ ควรตักเตือนและอธิบายถึงสาเหตุและผลเสียที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรพูดคุยและตรวจหาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี